วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2024

ตัวเลขไทย ความภูมิใจของชาติที่มาจากเลขเขมรโบราณและอินเดียใต้ – BBC News ไทย

facebook/พรรคไทยภักดี

ที่มาของภาพ, facebook/ไทยภักดี

คำบรรยายภาพ,

ตลอดวันนี้ เพจของพรรคไทยภักดี เผยแพร่ความเห็นของนักวิชาการ และสมาชิกพรรค ที่แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการรณรงค์เลิกใช้เลขไทย

หลังจากมีผู้ไปตั้งแคมเปญรณรงค์ใน www.change.org ขอให้ใช้เลขอารบิกในเอกสารราชการไทยแทนตัวเลขไทย โดยอ้างเหตุผล เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน เป็นสากล และส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงและประมวลผลข้อมูลดิจิทัล ทำให้เกิดการออกมาถกเถียงของกลุ่มที่เราอาจแบ่งได้ว่า ระหว่าง “ฝ่ายอนุรักษ์นิยม” และ “ฝ่ายก้าวหน้า”

แคมเปญนี้ ตั้งขึ้นมาสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กทม.) ของกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศผลนับคะแนนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ด้วยตัวเลขไทย อีกทั้งยังเป็นไฟล์พีดีเอฟ ส่งให้กับสื่อมวลชน ซึ่งสื่อที่นำมาใช้งานต้องมาพิมพ์เป็นเลขอารบิกอีกต่อหนึ่ง

นายปฏิพัทธ์ สุสำเภา ผู้ก่อตั้งบริษัทโอเพ่นดรีม ผู้ตั้งแคมเปญนี้ใน change.org ให้เหตุผลถึงการเริ่มต้นการรณรงค์ว่า การใช้เลขไทยในเอกสารดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขเพื่อการคำนวณเป็นการขัดขวางความเจริญของงานประมวลผลเอกสารดิจิทัลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งคงต้องได้เวลาที่รัฐจะต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงการใช้เลขไทยให้ถูกที่ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

“ผลของการการใช้งานอย่างบ้าไม่บันยะบันยังไม่รู้กาลเทศะนั้น ทำให้เกิดการใช้เลขไทยที่วิปริตผิดที่ผิดทางในเอกสารราชการกันเป็นอย่างมาก เช่น คำว่า ๕G, Windows ๑๐ หรือแม้กระทั่ง URL ที่ใช้งานไม่ได้จริง”

หลังจากเรื่องนี้เป็นกระแสในโซเชียล ทำให้มีผู้ออกมาแสดงความเห็นหลากหลาย เช่น น.ส. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ นักเขียนและนักแปล โพสต์บนเฟซบุ๊กว่าสนับสนุนแคมเปญนี้ เพราะเห็นว่า “คุณภาพชีวิตของพวกเราทุกคนที่ต้องวิเคราะห์หรือเกี่ยวข้องกับข้อมูลของรัฐจะดีขึ้นมาก”

ขณะที่เฟซบุ๊กของพรรคไทยภักดี โพสต์ภาพของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ คณาจารย์สถาบันทิศทางไทย พร้อมกับโควตคำพูดว่า “จะได้ใช้เลขไทย จบนะ” พร้อมกับตัวเลขไทย 1-10 โดยที่ในมุมด้านซ้ายมีโฆษณาขายเสื้อพรรคไทยภักดีในราคาที่เขียนเป็นเลขอารบิก ก่อนมีการเปลี่ยนภาพใหม่โดยใช้เลขไทย

ความเป็นมาของเลขไทยที่ใช้ในหนังสือราชการเกิดมาในยุคไหน และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเลขไทยมีอะไรบ้าง

เลขไทยมีที่มาจากเลขเขมรและเลขอินเดียใต้

ประวัติการเกิดขึ้นของตัวเลขไทยที่ใช้กันในปัจจุบัน วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 เดือน ม.ค.-มี.ค. 2545 ระบุว่า อักษรไทยและตัวเลขไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงริเริ่มนำมาใช้เป็นภาษาของชาติไทย ทรงนำอักษรขอม (เขมร) มาดัดแปลง และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาตามยุคสมัยจนถึงแบบกันที่ใช้ในสมัยนี้

วารสารราชบัณฑิต ระบุด้วยว่า เช่นเดียวกับตัวเลขอารบิกที่ชาวตะวันตกนำไปใช้ ก็มีต้นตอจากอินเดียและมีวิวัฒนาการจนมีรูปสัณฐานดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ชาวขอมที่เป็นต้นตำรับภาษาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นกลุ่มนักปราชญ์ชาวอินเดียที่อพยพหนีภัยการเมืองเข้าไปอยู่ในประเทศเขมรหรือกัมพูชาในปัจจุบัน และบางกลุ่มได้เข้าไปอยู่ในดินแดนประเทศไทย ดังนั้น ตัวเลขไทยและตัวเลขอารบิกในปัจจุบัน จึงมีต้นตออักษรตัวเลขชุดเดียวกันคือ จากอักษรเทวนาครี

ที่มาของภาพ, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

คำบรรยายภาพ,

สระ วรรณยุกต์ และตัวเลข สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. 1835 ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์จารึกในประเทศไทย ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ข้อถกเถียงทางวิชาการเกี่ยวกับที่มาของเลขไทย นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ยังเคยสืบค้นไว้ว่า เลขโบราณใน “จารึกเขมร” สมัยก่อนเมืองพระนคร ซึ่งมีรูปแบบตัวอักษรที่รับมาจาก อักษรอินเดียใต้ (หรืออักษรสมัยราชวงศ์ปัลลวะ) ได้วิวัฒนาการเป็นเลขเขมรสมัยเมืองพระนคร และจากเลขเขมรโบราณสมัยเมืองพระนคร ก็ส่งอิทธิพลต่อเลขไทยสมัยสุโขทัย ซึ่งปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคำแหง

ผู้เขียนอธิบายด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ก็น่าจะสรุปได้ว่า “เลขอินเดียใต้ (ราชวงศ์ปัลลวะ)” เป็นที่มาของเลขที่ใช้ในดินแดนอุษาคเนย์ทั้งหมด รวมทั้งเลขที่ใช้ในอาณาจักรทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย

ต่อมาเลขอินเดียใต้ได้วิวัฒนาการกลายเป็นเลขเขมรโบราณสมัยเมืองพระนคร เป็นลักษณะเฉพาะ แล้วจากนั้นจึงส่งอิทธิพลมายังเลขไทยสมัยสุโขทัย จากนั้นจึงกลายเป็นเลขไทยในปัจจุบัน ด้วยการอธิบายตามวิวัฒนาการของรูปแบบตัวอักษร (Palaeography) ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น

ส่งเสริมให้ใช้ในเอกสารราชการเมื่อปี 2543 สมัยรัฐบาลชวน

หลักฐานของใช้ตัวเลขไทยในเอกสารหนังสือของราชการ มาจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2543 ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ซึ่งขอความร่วมมือให้ส่วนราชการไทยใช้เลขศักราชเป็นเลขปีพุทธศักราชในกิจกรรมทุกด้านของหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เลขไทย

คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ในสมัยนั้น โดยระบุว่า เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกของประชาชนชาวไทยในการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติ เพื่อมิให้วัฒนธรรมต่างชาติครอบงำ

ที่มาของภาพ, www.change.org

“ได้มีการพิจารณาศึกษาการใช้เลขศักราชของหน่วยราชการที่มีการใช้เลข 2000 กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เนื่องจากมีกระแสวัฒนธรรมต่างชาติครอบงำ กิจกรรมแทบทุกด้านของภาคเอกชนมีการใช้เลขศักราชเป็น 2000 เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง อันอาจจะส่งกระทบต่อเอกลักษณ์ของไทยในอนาคต จนกลายเป็นปัญหาที่จะแก้ไขได้ยาก” ข้อความจาก กมธ. การศาสนาฯ ที่ส่งไปยังสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ เมื่อ 16 ก.พ. 2543

เอกสารบันทึกมติ ครม. ปีดังกล่าว ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้พุทธศักราชหรือ พ.ศ. ด้วยว่า เกิดจากพระราชดำริและพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามประกาศวิธีนับวันเดือนปี ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 เป็น พ.ศ. 2455 ต่อมามี พ.ร.บ. ปีประดิทิน พ.ศ. 2483 ใช้บังคับก็ยังคงใช้เลขปีศักราชเป็นปี พ.ศ. ต่อไป

ส่วนการใช้ พ.ศ. ในการออกหนังสือราชการทั่วไป เริ่มใช้เมื่อปี 2526

ที่มาของภาพ, facebook/พรรคไทยภักดี

มีข้าราชการร้องเรียนเมื่อปี 2554

ระบบห้องสมุดเอกสารสาธารณะอ้างอิงเพื่อการพลิกโฉมรัฐบาลไปสู่ดิจิทัลของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บันทึกว่า หลังจากมีมติ ครม. ให้ใช้ หน่วยราชการจึงให้ความสำคัญอย่างมาก แต่ก็สร้างปัญหาให้กับเอกสารหลายลักษณะ เช่น การใช้เลขไทยผสมกับคำภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศไทย เช่นคำว่า ASEAN+๖ หรือ การใช้เลขไทย กับข้อมูลในกระดาษทำการ (Spreadsheet) อันส่งผลให้ระบบประมวลผลเกิดความผิดพลาด

ข้าราชการจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายหนึ่ง ร้องเรียนเข้าไปยังระบบสอบถามข้อมูลออนไลน์ สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือน มี.ค. 2554 เกี่ยวกับปัญหาการใช้เลขไทย ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เช่น ตารางข้อมูลตัวเลข คำเฉพาะ การเซ็นชื่อของผู้บังคับบัญชาที่ลงตัวเลขอารบิกแล้วถูกธุรการกลับไปแก้ใหม่ รวมทั้งความชัดเจนเรื่องเอกสารแนบ

ระบบข้อมูลของสำนักนายกฯ ได้ชี้แจงว่า การใช้เลขไทยในหนังสือราชการนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละส่วนราชการ ในบางกรณีตัวเลขไทยอาจไม่เอื้อต่องานบางประเภท เช่น งานการเงิน งานวิเคราะห์ตารางตัวเลข หรืองานที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ ส่วนราชการก็สามารถพิจารณาใช้เลขอารบิกได้ โดยไม่เป็นการบังคับว่าส่วนราชการจะต้องใช้เลขไทยอย่างเดียวเท่านั้น

สุโขทัย

สุโขทัย

มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

No Content Available

หมวดบทความ

การก่อสร้าง การขนถ่ายสินค้า การขุด หรือเจาะบ่อน้ำ การค้าวัสดุก่อสร้าง การติดตั้งไฟฟ้าสายหลัก การผลิต การบรรจุก๊าซ การผลิตน้ำมันพืช การผลิตน้ำแข็ง การผลิตปุ๋ยเคมี การผลิตและบรรจุยา การหล่อหลอม การกลึงโลหะ การหีบฝ้าย ปั่นนุ่น การเคลือบ ชุบ อาบขัดโลหะ การเลี้ยงสัตว์ กิจกรรม ข่าว ตรวจหวย ธุรกิจ บริษัท มูลนิธิ ร้านค้า ร้านอาหาร วิถีชีวิต สถานที่ท่องเที่ยว สถานศึกษา สพป.สุโขทัย เขต 1 สพป.สุโขทัย เขต 2 สพม.เขต 38 สมาคม สำนักงานจัดการเดินทาง สุโขทัย หน่วยงานราชการ อบต. เอสเอ็มอี โรงงาน โรงพยาบาล บริการสุขภาพ โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสามัญ โอทอป

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.